นายแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์ กับการผ่าตัด ในสมัยพุทธกาล

            นายแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์ กับการผ่าตัด ในสมัยพุทธกาล
เรื่องเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์
                [๑๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะอยู่ ปี
นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ขนเงินไปเป็นอันมาก
อนึ่ง เศรษฐีนั้นถูกนายแพทย์บอกคืน นายแพทย์บางพวกได้ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดี
จักถึงอนิจกรรมในวันที่ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่
                ครั้งนั้นพวกคนร่ำรวย ชาวพระนครราชคฤห์ได้มีความปริวิตกว่า เศรษฐีคหบดีผู้นี้แล
มีอุปการะมากแก่พระเจ้าอยู่หัวและชาวนิคม แต่ท่านถูกนายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์
บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า
จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ก็ชีวกผู้นี้เป็นนายแพทย์หลวงที่หนุ่มทรงคุณวุฒิ ถ้าเช่นนั้นพวกเรา
พึงทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะให้รักษาเศรษฐีคหบดี แล้วจึงพากันไปใน
ราชสำนัก ครั้นถึงแล้วได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลแด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า ขอ
เดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม เศรษฐีคหบดีผู้นี้มีอุปการะมากแก่ใต้ฝ่าละออง
ธุลีพระบาทและชาวนิคม แต่ท่านถูกนายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้
 อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรม
ในวันที่ ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงทรงมีพระบรมราช
โองการสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อได้รักษาเศรษฐีคหบดี
                ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงมีพระราชดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า
พ่อนายชีวก เจ้าจงไปรักษาเศรษฐีคหบดี
                ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า อย่างนั้นขอเดชะ แล้วไปหาเศรษฐี
คหบดี สังเกตอาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีคหบดีแล้ว ได้ถามเศรษฐีคหบดีว่า ท่านคหบดี
ถ้าฉันรักษาท่านหายโรค จะพึงมีรางวัลอะไรแก่ฉันบ้าง?
                . ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน และตัวข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาส
ของท่าน
                ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจนอนข้างเดียวตลอด เดือนได้ไหม?
                . ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียวตลอด เดือนได้
                ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจนอนข้างที่สองตลอด เดือนได้ไหม?
                . ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างที่สองตลอด เดือนได้
                ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจนอนหงายตลอด เดือนได้ไหม?
                . ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงายตลอด เดือนได้
                ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ให้เศรษฐีคหบดีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียงถลกหนังศีรษะ
เปิดรอยประสานกระโหลกศีรษะ นำสัตว์มีชีวิตออกมาสองตัว แล้วแสดงแก่ประชาชนว่า
ท่านทั้งหลายจงดูสัตว์มีชีวิต ตัวนี้ เล็กตัวหนึ่ง ใหญ่ตัวหนึ่ง พวกอาจารย์ที่ทำนายไว้อย่างนี้ว่า
เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวใหญ่นี้ มันจักเจาะกินมันสมอง
ของเศรษฐีคหบดีในวันที่ เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกินสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์
ตัวใหญ่นี้ ชื่อว่าอันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว ส่วนพวกอาจารย์ที่ทำนายไว้อย่างนี้ว่า
เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวเล็กนี้ มันจักเจาะกินมันสมอง
ของเศรษฐีคหบดีในวันที่ เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกินมันสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์
ตัวเล็กนี้ ชื่อว่าอันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว ดังนี้ แล้วปิดแนวประสานกระโหลกศีรษะ
เย็บหนังศีรษะแล้วได้ทายาสมานแผล
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดีได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด เดือนได้
                ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียวตลอด เดือน
ได้ดังนี้ มิใช่หรือ?
                . ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอน
ข้างเดียวตลอด เดือนได้
                ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนข้างที่สองตลอด เดือนเถิด
                ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด เดือนได้
                ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้านอนข้างที่สองตลอด เดือนได้
ดังนี้มิใช่หรือ?
                . ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอน
ข้างที่สองตลอด เดือนได้
                ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนหงายตลอด เดือนเถิด
                ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงายตลอด เดือนได้
                ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงายตลอด เดือนได้
ดังนี้ มิใช่หรือไม่?
                . ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงาย
ตลอด เดือนได้
                ชี. ท่านคหบดี ถ้าฉันไม่บอกท่านไว้ ท่านก็นอนเท่านั้นไม่ได้ แต่ฉันทราบอยู่ก่อน
แล้วว่า เศรษฐีคหบดีจักหายโรคในสามสัปดาห์ ลุกขึ้นเถิด ท่านหายป่วยแล้ว ท่านจงรู้
จะได้รางวัลอะไรแก่ฉัน
                . ท่านอาจารย์ ก็ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน ตัวข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาสของท่าน
                ชี. อย่าเลย ท่านคหบดี ท่านอย่าได้ให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่ฉันเลย และท่านก็
ไม่ต้องยอมเป็นทาสของฉัน ท่านจงทูลเกล้าถวายทรัพย์แก่พระเจ้าอยู่หัวแสนกษาปณ์ ให้ฉัน
แสนกษาปณ์ก็พอแล้วครั้นเศรษฐีคหบดีหายป่วย ได้ทูลเกล้าถวายทรัพย์แด่พระเจ้าอยู่หัว แสนกษาปณ์ ได้ให้
แก่ชีวกโกมารภัจจ์ แสนกษาปณ์.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทยเล่มที่ ๕   หน้าที่๑๔๐         พระวินัยปิฎก มหาวรรค  ภาค๒ หน้าที่๑๔๐ ข้อที่๑๓๒




            เรื่องบุตรเศรษฐีป่วยโรคเนื้องอกที่ลำไส้
                [๑๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสีผู้เล่นกีฬาหกคะเมน ได้ป่วย
เป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้ ข้าวยาคูที่เธอดื่มเข้าไปก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระ
และปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรคนั้น เธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด
เหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ครั้งนั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสีได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า
บุตรของเราได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย
อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก บุตรของเรานั้นจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด
เหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น ถ้ากระไร เราพึงไปพระนครราชคฤห์แล้วทูลขอ
นายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะได้รักษาบุตรของเรา ต่อแต่นั้นเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์
แล้ว เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะฯ บุตรของ
ข้าพระพุทธเจ้าได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย
อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้นๆ
มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลี-
พระบาทจงมีพระบรมราชโองการสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อจะได้รักษาบุตรของข้าพระพุทธเจ้า
                ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระราชดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า
ไปเถิด พ่อนายชีวก เจ้าจงไปพระนครพาราณสี แล้วรักษาบุตรของเศรษฐีชาวกรุงพาราณสี
                ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า อย่างนั้นขอเดชะฯ แล้วไปพระนคร
พาราณสี เข้าไปหาเศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี สังเกตอาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีบุตรชาว
พระนครพาราณสี เชิญประชาชนให้ออกไปเสีย ขึงม่านมัดเศรษฐีบุตรไว้กับเสา ให้ภรรยาอยู่
ข้างหน้า ผ่าหนังท้อง นำเนื้องอกที่ลำไส้ออกแสดงแก่ภรรยาว่า เธอจงดูความเจ็บป่วยของสามีเธอ
ข้าวยาคูที่สามีเธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่สามีเธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออก
ไม่สะดวก เพราะโรคนี้ สามีเธอนี้จึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้นๆ
มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นดังนี้ แล้วตัดเนื้องอกในลำไส้ออก สอดใส่ลำไส้กลับดังเดิม แล้วเย็บ
หนังท้องทายาสมานแผล ต่อมาไม่นานเท่าไรนัก เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี ได้หายโรคแล้ว
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕   หน้าที่๑๔๓                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค  ภาค๒ หน้าที่๑๔๓ ข้อที่๑๓๓


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตำนานแม่กาเผือก

ดอกไม้ ดอกไม้ในสวยดอก ดอกไม้ในขันแก้วทั้งสาม ศรัทธาที่มีต่อพระรัตนตรัย

เจดีย์ทราย ตุงสงกรานต์ สัญลักษณ์ความรักความศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย