รัตนสูตร มหาธรรมยาตรา การจาริกบนเส้นทางสายดอกไม้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแนวรุกในสมัยพุทธกาล
เดือนมกราคมของทุกปีเป็นเดือนทีเริ่มต้นปีใหม่
เริ่มต้นพุทธศักราชใหม่ ในสมัยก่อนปีใหม่ของไทยมิได้ตรงกับเดือนมกราคม
ไปตรงกับเดือนเมษายน
แต่เมื่อรับวัฒนธรรมของสากลโลกเข้ามาจึงปรับเปลี่ยนให้ตรงกัน ผู้ใหญ่ในสมัยก่อนที่เป็นชาวพุทธจะรำลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นลำดับแรกก่อนที่จะเริ่มกิจการงานใดๆ ดังนั้นในเดือนมกราคมของทุกปีชาวพุทธจะได้ต้อนรับขบวนพระรัตนตรัย
อันประกอบไปด้วยขบวนพระภิกษุสงฆ์กว่าพันรูป ธรรมยาตรา จาริกบนเส้นทางสายดอกไม้ ในเส้นทางมหาปูชนียาจารย์เพื่อรำลึกถึงพระคุณอันไม่มีประมาณของมหาปูชนียาจารย์ในการเผยแผ่ธรรมะ
วิชชาธรรมกาย
ขบวนพระภิกษุสงฆ์กว่าพันรูปนี้
ไม่ได้เกิดเป็นครั้งแรกในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา
โดยทรงเสด็จจากแว่นแคว้นหนึ่งไปยังอีกแว่นแคว้นหนึ่ง
ในการเสด็จส่วนใหญ่พระไตรปิฎกบันทึกว่า มีพระภิกษุสงฆ์ตามเสด็จเป็นจำนวนมาก ดังเช่น
“... ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้[1]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จดำเนินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา(นาลันทา)พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา พร้อมด้วยพรหมทัตตมาณพผู้อันเตวาสิก. ได้ยินว่าในระหว่างทางนั้น.สุปปิยปริพาชก กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย.....”
ในอรรถกถาได้อธิบายอย่างชัดเจนละเอียดยิ่งขึ้นว่าทรงเสด็จบิณฑบาต
มีภิกษุแวดล้อม และ
ทรงประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ จากนั้นจะทรงไปเมืองนาลันทา จากอรรถกถา ทำให้ทราบว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จธรรมยาตราระหว่างเมือง
ในขณะเดียวกันมีการปรากฏของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสมือนเป็นแสงสว่างให้กับโลกดังปรากฎในอรรถกถาดังต่อไปนี้
“...เริ่มแรก[2]
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มหาวิหารแห่งหนึ่งในบรรดามหาวิหาร18 แห่ง ที่เรียงรายอยู่รอบกรุงราชคฤห์ ในกาลนั้น
เวลาเช้าตรู่ทรงปฏิบัติพระพุทธสรีระ
ถึงเวลาภิกษาจารมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ วันนั้น
พระองค์ทรงทำให้ภิกษุสงฆ์หาบิณฑบาตได้ง่าย ในเวลาภายหลังอาหาร
เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ให้ภิกษุสงฆ์รับบาตรและจีวร มีพระพุทธดำรัสว่า
จักไปเมืองนาลันทา เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จดำเนินทางไกลนั้น.
ในกาลนั้น แม้สุปปิยปริพาชกก็อยู่ในอารามปริพาชกแห่งหนึ่งที่เรียงรายอยู่ รอบกรุงราชคฤห์ มีปริพาชกแวดล้อมเที่ยวภิกษาจารในกรุงราชคฤห์ วันนั้น แม้สุปปิยปริพาชกก็กระทำให้บริษัทปริพาชกหาภิกษาได้ง่าย บริโภคอาหารเช้าแล้ว ให้พวกปริพาชกรับบริขารแห่งปริพาชก กล่าวว่าจักไปเมืองนาลันทาเหมือนกัน ไม่ทราบเลยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางนั้น ชื่อว่าติดตามไป ถ้าทราบก็จะไม่ติดตามไป. สุปปิยปริพาชกนั้นไม่ทราบเลย เมื่อเดินไป ชะเง้อคอขึ้นดู จึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้างามด้วยพระพุทธสิริ ปานประหนึ่งยอดภูเขาทองเดินได้ที่แวดวงด้วยผ้ากัมพลแดง.
ได้ยินว่า ในสมัยนั้น พระฉัพพรรณรังสีแผ่ซ่านออกจากพระสรีระของพระทศพล วนเวียนรอบเนื้อที่ประมาณแปดสิบศอก. บริเวณป่านั้นย่อมเป็นดังเกลื่อนกล่นไปด้วยช่อรัตนะ พวงรัตนะและผงรัตนะ ดั่งแผ่นทองที่วิจิตรด้วยรัตนะอันแผ่ออก ดั่งประพรมด้วยน้ำทองสีแดงก่ำดั่งเกลื่อนกล่นด้วยกลุ่มดาวร่วง ดั่งฝุ่นชาดที่คลุ้งขึ้นด้วยแรงพายุ และดั่งแวบวาบปลาบแปลบด้วยแสงรัศมีแห่งสายรุ้งสายฟ้า และหมู่ดาราก็ปานกัน.
ก็และพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ารุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะแปดสิบ ดั่งสระที่มีดอกบัวหลวง และบัวขาบแย้ม ดั่งต้นปาริฉัตตกออกดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น ดั่งจะเย้ยพื้นทิฆัมพร ซึ่งประหนึ่งแย้มด้วยพยับดาราด้วยพระสิริ.
อนึ่ง มาลัย คือพระลักษณะอันประเสริฐสามสิบสองประการของพระองค์ ที่งามวิลาศด้วยวงด้วยพระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ก็ปานดั่งเอาพระสิริมาข่มเสียซึ่งพระสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิสามสิบสองพระองศ์ เทวราชสามสิบสองพระองค์และมหาพรหมสามสิบสองพระองค์ ที่วางไว้ตั้งไว้ตามลำดับแห่งพวงมาลัยคือพระจันทร์สามสิบสองดวง พวงมาลัยคือพระอาทิตย์สามสิบสองดวงที่ร้อยแล้ว.
ก็และภิกษุทั้งหลายที่ยืนล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีกัน ตักเตือนกัน ติเตียนบาป ว่ากล่าวกัน ผู้เต็มใจทำตาม ทนคำสั่งสอน ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ. ในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบดั่งเสาทอง ล้อมด้วยกำแพงคือผ้ากัมพลแดง ดั่งเรือทองที่อยู่กลางดงปทุมแดง ดั่งกองอัคคีที่วงด้วยไพที่แก้วประพาฬ ดั่งพระจันทร์เพ็ญอันล้อมด้วยหมู่ดาว ย่อมเจริญตาแม้แห่งฝูงมฤคชาติและปักษีทั้งหลายจะป่วยกล่าวไปไยถึงเทวดาและมนุษย์เล่า.
ก็ในวันนั้นแล โดยมากพระอสีติมหาเถระต่างก็ทรงผ้าบังสุกุลมีสีดังเมฆเฉวียงบ่าข้างหนึ่งถือไม้เท้า ราวกะว่าช้างตระกูลคันธวงศ์ที่ได้รับการฝึกหัดเป็นอย่างดี ปราศจากโทษแล้ว คายโทษแล้ว ทำลายกิเลสแล้ว สางเครื่องรุงรังแล้ว ตัดเครื่องผูกพันแล้ว พากันห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์เองทรงปราศจากราคะแล้ว แวดล้อมด้วยไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากราคะแล้ว พระองค์เองทรงปราศจากโทสะแล้ว แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากโทสะแล้ว พระองค์เองทรงปราศจากตัณหาแล้ว แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากตัณหาแล้ว พระองค์เองทรงไม่มีกิเลสแวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ไม่มีกิเลส.
พระองค์เองเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว แวดล้อมไปด้วยพระสาวกผู้รู้ตามเสด็จทั้งหลาย ราวกะว่าไกรสรราชสีหแวดล้อมไปด้วยมฤคชาติ ราวกะว่าดอกกัณณิการ์แวดล้อมด้วยเกสร ราวกว่าพญาช้างฉัททันต์แวดล้อมด้วยช้างแปดพันเชือก ราวกะว่าพญาหงส์ชื่อธตรฐแวดล้อมด้วยหงส์เก้าหมื่น ราวกะว่าพระเจ้าจักรพรรดิแวดล้อมด้วยเสนางคนิกร ราวกว่าท้าวสักกเทวราชแวดล้อมด้วยหมู่เทวดา ราวกะว่าท้าวหาริตมหาพรหมแวดล้อมด้วยหมู่พรหม ได้เสด็จดำเนินไปทางนั้น ด้วยพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ เป็นอจินไตยที่ใครๆ ไม่ควรคิดซึ่งบังเกิดด้วยผลบุญที่ทรงสั่งสมมาตลอดกาลประมาณมิได้ ดังดวงจันทร์ที่โคจรตลอดพื้นทิฆัมพรฉะนั้น.
ในพระสูตร รัตนสูตร
ได้กล่าวถึงมหาธรรมยาตราการจาริกของพระพุทธเจ้า ดังที่ได้รวบรวมจากอรรถกถา ดังนี้
อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ
รัตนสูตรในขุททกปาฐะ
ก็กรุงเวสาลีนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติ ก็มั่นคงไพบูลย์
ด้วยว่า ในกรุงเวสาลีนั้นมีเจ้าอยู่ถึง ๗,๗๐๗ พระองค์.
พระยุพราชเสนาบดีและภัณฑาคาริกเป็นต้นก็เหมือนกัน
เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
สมัยนั้นแล กรุงเวสาลีมั่นคงเจริญ มีคนมาก มีคน
เกลื่อนกล่น มีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง
มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีอาราม ๗,๗๐๗ อาราม มี
สระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ.
สมัยต่อมา กรุงเวสาลีนั้นเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตายนึ่ง. คนยากคนจนตายก่อน เขาทิ้งคนเหล่านั้นไปนอกนคร. พวกอมนุษย์ได้กลิ่นคนตายก็พากันเข้าพระนคร. แต่นั้น ผู้คนก็ตายเพิ่มมากขึ้น. เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคก็เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย. ชาวกรุงเวสาลีถูกภัย ๓ อย่าง คือทุพภิกขภัย อมนุสสภัยและโรคภัยเบียดเบียน ก็เข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ขอเดชะ เกิดภัย ๓ อย่างในพระนครนี้แล้ว พระเจ้าข้า แต่ก่อนนี้ นับได้ ๗ ชั่วราชสกุล ไม่เคยเกิดภัยเช่นนี้เลย ชะรอยพระองค์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้ ภัยนั้นจึงเกิดขึ้น. พระราชาทรงประชุมเจ้าลิจฉวีทุกพระองค์ในที่ว่าราชการ ตรัสว่า ขอได้โปรดพิจารณาทบทวนข้อที่เราไม่ตั้งอยู่ในธรรมเถิด.
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นพิจารณาทบทวนถึงประเพณีทุกอย่าง ก็ไม่ทรงเห็นข้อบกพร่องไรๆ แต่นั้น ก็ไม่เห็นโทษขององค์พระราชา จึงพากันคิดว่า ภัยนี้ของเรา จะระงับไปได้อย่างไร. ในที่ประชุมนั้น เจ้าลิจฉวีบางพวก อ้างถึงศาสดาทั้ง ๖ ว่า พอศาสดาเหล่านี้ย่างเท้าลงเท่านั้น ภัยก็จะระงับไป.
บางพวกตรัสว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ปวงสัตว์ ทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พอพระองค์ย่างพระบาทลงเท่านั้น ภัยทุกอย่าง ก็จะระงับไป.
ด้วยเหตุนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นจึงดีพระทัย ตรัสว่า
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้ ประทับอยู่ที่ไหนเล่า พวกเราส่งคนไปเชิญจะไม่เสด็จมาน่ะสิ. เจ้าลิจฉวีอีกพวกหนึ่งตรัสว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทรงเอ็นดูสัตว์ เหตุไร จะไม่เสด็จมาเล่า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้ ประทับอยู่กรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทรงอุปฐากอยู่ เกรงท้าวเธอจะไม่ให้เสด็จมา.
ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เราจะทูลพระเจ้าพิมพิสารให้ทรงเข้าพระทัยแล้วนำพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา แล้วทรงมอบเครื่องบรรณาการเป็นอันมากส่งเจ้าลิจฉวีสองพระองค์ พร้อมด้วยกองกำลังขนาดใหญ่ ไปยังราชสำนักพระเจ้าพิมพิสาร โดยสั่งว่า ขอท่านทูลพระเจ้าพิมพิสารให้เข้าพระทัย แล้วนำพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา เจ้าลิจฉวีทั้งสองพระองค์เสด็จไปถวายเครื่องบรรณาการแด่พระเจ้าพิมพิสาร แล้วแจ้งให้ทรงทราบเรื่องราวแล้วทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดส่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังนครของข้าพระองค์ด้วยเถิด.
พระราชาไม่ทรงรับรอง ตรัสว่า พวกท่านทรงรู้เอาเองเถิด.
เจ้าลิจฉวีก็ทูลรับว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภัย ๓ อย่างเกิดขึ้นในนครของข้าพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเสด็จมาไซร้ ความสวัสดีก็จะพึงมีแก่พวกข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาว่า เมื่อตรัสรัตนสูตรในกรุงเวสาลี การอารักขาจักแผ่ไปแสนโกฏิจักรวาล จบสูตร สัตว์ ๘๔,๐๐๐ จักตรัสรู้ธรรม แล้วจึงทรงรับนิมนต์. ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว โปรดให้โฆษณาไปในพระนครว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์เสด็จไปกรุงเวสาลีแล้ว เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงรับจะเสด็จไปกรุงเวสาลีหรือ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร มหาบพิตร. ท้าวเธอทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น โปรดทรงรอจนกว่าจะจัดแจงหนทางถวายนะ พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงทำพื้นที่ ๕ โยชน์ ระหว่างกรุงราชคฤห์และแม่น้ำคงคาให้ราบเรียบแล้ว ให้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเวลาที่จะเสด็จไป พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุ ๕๐๐ รูปแวดล้อมแล้วเสด็จไป พระราชาทรงเอาดอกไม้ ๕ สีโปรยหนทาง ๕ โยชน์เพียงหัวเข่า ให้ยกธงผ้า หม้อน้ำและต้นกล้วยเป็นต้น ให้กั้นเศวตฉัตร ๒ ชั้นสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉัตรชั้นเดียวสำหรับพระภิกษุแต่ละรูป ทรงทำการบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นพร้อมด้วยราชบริพารของพระองค์ ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในวิหารหลังหนึ่งๆ ถวายมหาทาน ทรงนำเสด็จสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา ๕ วัน.
ณ ที่นี้ ทรงประดับเรือด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง แล้วทรงส่งสาสน์ไปถวายเจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว ขอเจ้าลิจฉวีทุกพระองค์ ตกแต่งหนทางถวายการรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นตกลงกันว่าจะทำการบูชาเป็นสองเท่า ทำพื้นที่ ๓ โยชน์ระหว่างกรุงเวสาลีและแม่น้ำคงคาให้เรียบร้อย จัดเศวตฉัตร ๔ ชั้นสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า สำหรับพระภิกษุแต่ละรูปๆ ละ ๒ ชั้น ทำการบูชา เสด็จมาคอยอยู่.
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงทำเรือขนาน ๒ ลำแล้วสร้างมณฑป ประดับด้วยพวงดอกไม้ ปูลาดพุทธอาสน์ทำด้วยรัตนะล้วน ณ มณฑปนั้น. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์นั้น. แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ลงเรือนั่งกันตามสมควร พระราชาส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ลงน้ำประมาณแต่พระศอ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่กันริมฝั่งแม่น้ำคงคานี้นี่แหละ จนกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จกลับมา แล้วก็เสด็จกลับ.
เทวดาเบื้องบนจนถึงอกนิษฐภพ ได้พากันทำการบูชา. นาคราชทั้งหลายมีกัมพลนาคและอัสสตรนาคเป็นต้น ซึ่งอาศัยอยู่ใต้แม่น้ำคงคา ก็พากันทำการบูชา. ด้วยการบูชาใหญ่อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางแม่น้ำคงคา สิ้นระยะทางไกลประมาณโยชน์หนึ่ง ก็เข้าเขตแดนของพวกเจ้าลิจฉวี กรุงเวสาลี.
ต่อนั้น พวกเจ้าลิจฉวีก็ทำการบูชาเป็น ๒ เท่าที่พระเจ้าพิมพิสารทรงทำการบูชา ออกไปรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงในน้ำประมาณแค่พระศอ. ขณะนั้นเอง ครู่นั้นเอง มหาเมฆมียอดคลุมด้วยความมืด มีแสงฟ้าแลบเคลื่อนตัวไป ส่งเสียงคำรามครืนครั่นก็ตั้งขึ้นทั้งสี่ทิศ. ลำดับนั้น พอพระผู้มีพระภาคเจ้ายกพระบาทแรกวางลงริมฝั่งแม่น้ำคงคา ฝนโบกขรพรรษก็โปรยเม็ดลงมา ชนเหล่าใดต้องการจะเปียก ชนเหล่านั้นเท่านั้นย่อมเปียก ผู้ไม่ต้องการเปียกก็ไม่เปียก ในที่ทุกแห่ง น้ำย่อมไหลไปเพียงแค่เข่า แค่ขา แค่สะเอว แค่คอ ซากศพทั้งปวงถูกน้ำพัดส่งลงสู่แม่น้ำคงคา พื้นดินก็สะอาดสะอ้าน.
พวกเจ้าลิจฉวีให้พระผู้มีพระเจ้าประทับอยู่ทุกๆ หนึ่งโยชน์ ในระหว่างทางถวายมหาทาน ทรงทำการบูชาเป็นทวีคูณ ๓ วัน จึงนำเสด็จสู่กรุงเวสาลี. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลี ท้าวสักกะจอมทวยเทพ อันหมู่เทพห้อมล้อมก็เสด็จมาถึง. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนใกล้ประตูพระนครทรงเรียกท่านพระอานนท์มา สั่งว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่องประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ ๓ ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวกเจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร แล้วได้ตรัสรัตนสูตร.
การวิสัชนาปัญหาเหล่านี้ว่า ก็พระสูตรนี้ ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใดและกล่าวเพราะเหตุใด ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้พิสดาร ตั้งแต่เรื่องกรุงเวสาลีเป็นต้นไปด้วยประการฉะนี้.
ดังนั้น ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลีนั่นเอง รัตนสูตรนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสใกล้ประตูกรุงเวสาลี เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้น ท่านพระอานนท์ก็เรียนเอา เมื่อจะกล่าวเพื่อเป็นปริตร [ป้องกันอุปัทวะ] จึงเอาบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำมา เดินประพรมไปทั่วพระนคร. พอพระเถระกล่าวว่า ยงฺกิญจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ที่อาศัยกองขยะและที่ฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในตอนแรก ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔. ประตูทั้งหลายก็ไม่มีที่ว่าง อมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่างที่ประตูทั้งหลาย ก็ทลายกำแพงเมืองหนีไป. พอพวกอมนุษย์พากันไปแล้ว ที่เนื้อตัวของพวกมนุษย์ทั้งหลาย โรคก็สงบไป พวกมนุษย์ทั้งหลายก็พากันออกมาบูชาพระเถระด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้นทุกอย่าง มหาชนเอาของหอมทุกอย่างฉาบทาสัณฐาคารที่ประชุม ท่ามกลางพระนคร ทำเพดานขจิตด้วยรัตนะ ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง ปูพุทธอาสน์ลง ณ ที่นั้นแล้วนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูไว้. ทั้งภิกษุสงฆ์ คณะเจ้าและมนุษย์ทั้งหลายก็นั่ง ณ อาสนะที่เหมาะที่ควร. แม้ท้าวสักกะ จอมทวยเทพก็ประทับนั่งใกล้กับเทวบริษัท ในเทวโลกทั้งสอง ทั้งเทวดาอื่นๆ ด้วย. แม้ท่านพระอานนทเถระ ก็เที่ยวเดินไปทั่วกรุงเวสาลี ทำอารักขาแล้ว ก็มาพร้อมกับชาวกรุงเวสาลี นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสรัตนสูตรนั้นแหละแก่ทุกคนแล.
เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
สมัยนั้นแล กรุงเวสาลีมั่นคงเจริญ มีคนมาก มีคน
เกลื่อนกล่น มีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง
มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีอาราม ๗,๗๐๗ อาราม มี
สระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ.
สมัยต่อมา กรุงเวสาลีนั้นเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตายนึ่ง. คนยากคนจนตายก่อน เขาทิ้งคนเหล่านั้นไปนอกนคร. พวกอมนุษย์ได้กลิ่นคนตายก็พากันเข้าพระนคร. แต่นั้น ผู้คนก็ตายเพิ่มมากขึ้น. เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคก็เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย. ชาวกรุงเวสาลีถูกภัย ๓ อย่าง คือทุพภิกขภัย อมนุสสภัยและโรคภัยเบียดเบียน ก็เข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ขอเดชะ เกิดภัย ๓ อย่างในพระนครนี้แล้ว พระเจ้าข้า แต่ก่อนนี้ นับได้ ๗ ชั่วราชสกุล ไม่เคยเกิดภัยเช่นนี้เลย ชะรอยพระองค์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้ ภัยนั้นจึงเกิดขึ้น. พระราชาทรงประชุมเจ้าลิจฉวีทุกพระองค์ในที่ว่าราชการ ตรัสว่า ขอได้โปรดพิจารณาทบทวนข้อที่เราไม่ตั้งอยู่ในธรรมเถิด.
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นพิจารณาทบทวนถึงประเพณีทุกอย่าง ก็ไม่ทรงเห็นข้อบกพร่องไรๆ แต่นั้น ก็ไม่เห็นโทษขององค์พระราชา จึงพากันคิดว่า ภัยนี้ของเรา จะระงับไปได้อย่างไร. ในที่ประชุมนั้น เจ้าลิจฉวีบางพวก อ้างถึงศาสดาทั้ง ๖ ว่า พอศาสดาเหล่านี้ย่างเท้าลงเท่านั้น ภัยก็จะระงับไป.
บางพวกตรัสว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ปวงสัตว์ ทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พอพระองค์ย่างพระบาทลงเท่านั้น ภัยทุกอย่าง ก็จะระงับไป.
ด้วยเหตุนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นจึงดีพระทัย ตรัสว่า
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้ ประทับอยู่ที่ไหนเล่า พวกเราส่งคนไปเชิญจะไม่เสด็จมาน่ะสิ. เจ้าลิจฉวีอีกพวกหนึ่งตรัสว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทรงเอ็นดูสัตว์ เหตุไร จะไม่เสด็จมาเล่า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้ ประทับอยู่กรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทรงอุปฐากอยู่ เกรงท้าวเธอจะไม่ให้เสด็จมา.
ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เราจะทูลพระเจ้าพิมพิสารให้ทรงเข้าพระทัยแล้วนำพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา แล้วทรงมอบเครื่องบรรณาการเป็นอันมากส่งเจ้าลิจฉวีสองพระองค์ พร้อมด้วยกองกำลังขนาดใหญ่ ไปยังราชสำนักพระเจ้าพิมพิสาร โดยสั่งว่า ขอท่านทูลพระเจ้าพิมพิสารให้เข้าพระทัย แล้วนำพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา เจ้าลิจฉวีทั้งสองพระองค์เสด็จไปถวายเครื่องบรรณาการแด่พระเจ้าพิมพิสาร แล้วแจ้งให้ทรงทราบเรื่องราวแล้วทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดส่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังนครของข้าพระองค์ด้วยเถิด.
พระราชาไม่ทรงรับรอง ตรัสว่า พวกท่านทรงรู้เอาเองเถิด.
เจ้าลิจฉวีก็ทูลรับว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภัย ๓ อย่างเกิดขึ้นในนครของข้าพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเสด็จมาไซร้ ความสวัสดีก็จะพึงมีแก่พวกข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาว่า เมื่อตรัสรัตนสูตรในกรุงเวสาลี การอารักขาจักแผ่ไปแสนโกฏิจักรวาล จบสูตร สัตว์ ๘๔,๐๐๐ จักตรัสรู้ธรรม แล้วจึงทรงรับนิมนต์. ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว โปรดให้โฆษณาไปในพระนครว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์เสด็จไปกรุงเวสาลีแล้ว เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงรับจะเสด็จไปกรุงเวสาลีหรือ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร มหาบพิตร. ท้าวเธอทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น โปรดทรงรอจนกว่าจะจัดแจงหนทางถวายนะ พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงทำพื้นที่ ๕ โยชน์ ระหว่างกรุงราชคฤห์และแม่น้ำคงคาให้ราบเรียบแล้ว ให้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเวลาที่จะเสด็จไป พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุ ๕๐๐ รูปแวดล้อมแล้วเสด็จไป พระราชาทรงเอาดอกไม้ ๕ สีโปรยหนทาง ๕ โยชน์เพียงหัวเข่า ให้ยกธงผ้า หม้อน้ำและต้นกล้วยเป็นต้น ให้กั้นเศวตฉัตร ๒ ชั้นสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉัตรชั้นเดียวสำหรับพระภิกษุแต่ละรูป ทรงทำการบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นพร้อมด้วยราชบริพารของพระองค์ ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในวิหารหลังหนึ่งๆ ถวายมหาทาน ทรงนำเสด็จสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา ๕ วัน.
ณ ที่นี้ ทรงประดับเรือด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง แล้วทรงส่งสาสน์ไปถวายเจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว ขอเจ้าลิจฉวีทุกพระองค์ ตกแต่งหนทางถวายการรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นตกลงกันว่าจะทำการบูชาเป็นสองเท่า ทำพื้นที่ ๓ โยชน์ระหว่างกรุงเวสาลีและแม่น้ำคงคาให้เรียบร้อย จัดเศวตฉัตร ๔ ชั้นสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า สำหรับพระภิกษุแต่ละรูปๆ ละ ๒ ชั้น ทำการบูชา เสด็จมาคอยอยู่.
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงทำเรือขนาน ๒ ลำแล้วสร้างมณฑป ประดับด้วยพวงดอกไม้ ปูลาดพุทธอาสน์ทำด้วยรัตนะล้วน ณ มณฑปนั้น. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์นั้น. แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ลงเรือนั่งกันตามสมควร พระราชาส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ลงน้ำประมาณแต่พระศอ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่กันริมฝั่งแม่น้ำคงคานี้นี่แหละ จนกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จกลับมา แล้วก็เสด็จกลับ.
เทวดาเบื้องบนจนถึงอกนิษฐภพ ได้พากันทำการบูชา. นาคราชทั้งหลายมีกัมพลนาคและอัสสตรนาคเป็นต้น ซึ่งอาศัยอยู่ใต้แม่น้ำคงคา ก็พากันทำการบูชา. ด้วยการบูชาใหญ่อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางแม่น้ำคงคา สิ้นระยะทางไกลประมาณโยชน์หนึ่ง ก็เข้าเขตแดนของพวกเจ้าลิจฉวี กรุงเวสาลี.
ต่อนั้น พวกเจ้าลิจฉวีก็ทำการบูชาเป็น ๒ เท่าที่พระเจ้าพิมพิสารทรงทำการบูชา ออกไปรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงในน้ำประมาณแค่พระศอ. ขณะนั้นเอง ครู่นั้นเอง มหาเมฆมียอดคลุมด้วยความมืด มีแสงฟ้าแลบเคลื่อนตัวไป ส่งเสียงคำรามครืนครั่นก็ตั้งขึ้นทั้งสี่ทิศ. ลำดับนั้น พอพระผู้มีพระภาคเจ้ายกพระบาทแรกวางลงริมฝั่งแม่น้ำคงคา ฝนโบกขรพรรษก็โปรยเม็ดลงมา ชนเหล่าใดต้องการจะเปียก ชนเหล่านั้นเท่านั้นย่อมเปียก ผู้ไม่ต้องการเปียกก็ไม่เปียก ในที่ทุกแห่ง น้ำย่อมไหลไปเพียงแค่เข่า แค่ขา แค่สะเอว แค่คอ ซากศพทั้งปวงถูกน้ำพัดส่งลงสู่แม่น้ำคงคา พื้นดินก็สะอาดสะอ้าน.
พวกเจ้าลิจฉวีให้พระผู้มีพระเจ้าประทับอยู่ทุกๆ หนึ่งโยชน์ ในระหว่างทางถวายมหาทาน ทรงทำการบูชาเป็นทวีคูณ ๓ วัน จึงนำเสด็จสู่กรุงเวสาลี. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลี ท้าวสักกะจอมทวยเทพ อันหมู่เทพห้อมล้อมก็เสด็จมาถึง. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนใกล้ประตูพระนครทรงเรียกท่านพระอานนท์มา สั่งว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่องประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ ๓ ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวกเจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร แล้วได้ตรัสรัตนสูตร.
การวิสัชนาปัญหาเหล่านี้ว่า ก็พระสูตรนี้ ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใดและกล่าวเพราะเหตุใด ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้พิสดาร ตั้งแต่เรื่องกรุงเวสาลีเป็นต้นไปด้วยประการฉะนี้.
ดังนั้น ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลีนั่นเอง รัตนสูตรนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสใกล้ประตูกรุงเวสาลี เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้น ท่านพระอานนท์ก็เรียนเอา เมื่อจะกล่าวเพื่อเป็นปริตร [ป้องกันอุปัทวะ] จึงเอาบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำมา เดินประพรมไปทั่วพระนคร. พอพระเถระกล่าวว่า ยงฺกิญจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ที่อาศัยกองขยะและที่ฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในตอนแรก ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔. ประตูทั้งหลายก็ไม่มีที่ว่าง อมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่างที่ประตูทั้งหลาย ก็ทลายกำแพงเมืองหนีไป. พอพวกอมนุษย์พากันไปแล้ว ที่เนื้อตัวของพวกมนุษย์ทั้งหลาย โรคก็สงบไป พวกมนุษย์ทั้งหลายก็พากันออกมาบูชาพระเถระด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้นทุกอย่าง มหาชนเอาของหอมทุกอย่างฉาบทาสัณฐาคารที่ประชุม ท่ามกลางพระนคร ทำเพดานขจิตด้วยรัตนะ ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง ปูพุทธอาสน์ลง ณ ที่นั้นแล้วนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูไว้. ทั้งภิกษุสงฆ์ คณะเจ้าและมนุษย์ทั้งหลายก็นั่ง ณ อาสนะที่เหมาะที่ควร. แม้ท้าวสักกะ จอมทวยเทพก็ประทับนั่งใกล้กับเทวบริษัท ในเทวโลกทั้งสอง ทั้งเทวดาอื่นๆ ด้วย. แม้ท่านพระอานนทเถระ ก็เที่ยวเดินไปทั่วกรุงเวสาลี ทำอารักขาแล้ว ก็มาพร้อมกับชาวกรุงเวสาลี นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสรัตนสูตรนั้นแหละแก่ทุกคนแล.
ครั้งนั้น
ท้าวสักกะเทวราชทรงพระดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยคุณพระรัตนตรัย
ประกอบสัจจวจนะ ทรงทำความสวัสดีแก่ชาวนคร.
แม้ตัวเราก็พึงกล่าวบางอย่างอาศัยคุณพระรัตนตรัย เพื่อความสวัสดีแก่ชาวนคร
ดังนี้แล้ว จึงตรัส ๓ คาถาท้ายว่า ยานีธ ภูตานิ เป็นต้น.
ใน ๓ คาถานั้น เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่าตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างที่คนทั้งหลายต้องขวนขวายพากันมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก, เพราะเสด็จไปอย่างที่คนเหล่านั้น จะพึงไป, เพราะทรงรู้ทั่วอย่างที่คนเหล่านั้นจะพึงรู้ทั่ว, เพราะทรงรู้อย่างที่คนเหล่านั้นจะพึงรู้, เพราะทรงประสบสิ่งที่มีที่เป็นอย่างนั้น
อนึ่ง เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาอย่างเหลือเกิน ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นที่เกิดภายนอก เป็นอุปกรณ์และที่เกิดในตนมีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นต้น ฉะนั้น
ท้าวสักกะเทวราชทรงประมวลเทวบริษัททั้งหมดกับพระองค์แล้วตรัสว่า
ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ พุทฺธํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ
พวกเรานอบน้อมพระตถาคตพุทธเจ้าผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมี.
อนึ่ง เพราะเหตุที่ในพระธรรม มรรคธรรมดำเนินไปแล้วอย่างที่พึงดำเนินไปด้วยการถอนฝ่ายกิเลส ด้วยกำลังสมถวิปัสสนาซึ่งเป็นธรรมคู่กัน แม้นิพพานธรรมอันพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงบรรลุแล้วอย่างที่ทรงบรรลุ คือแทงตลอดแล้วด้วยปัญญา พร้อมที่จะกำจัดทุกข์ทั้งปวง ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตถาคต.
อนึ่ง เพราะเหตุที่แม้พระสงฆ์ดำเนินไปแล้วอย่างที่ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนพึงดำเนินไปโดยมรรคนั้นๆ เหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตถาคต.
ฉะนั้น แม้ใน ๒ คาถาที่เหลือ ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสว่า
พวกเรานอบน้อมตถาคตธรรม ขอความสวัสดีจงมี
พวกเรานอบน้อมตถาคตสงฆ์ ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้.
คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
ท้าวสักกะเทวราชครั้นตรัส ๓ คาถานี้อย่างนี้เแล้ว ทรงทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จกลับสู่เทวบุรีพร้อมด้วยเทวบริษัท.
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรัตนสูตรนั้นนั่นแล. แม้ในวันที่ ๒ สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้ตรัสรู้ธรรม. ทรงแสดงอย่างนี้ ถึงวันที่ ๗. การตรัสรู้ธรรมก็ได้มีอย่างนั้นนั่นแหละ ทุกๆ วัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงเวสาลีกึ่งเดือนแล้ว จึงทรงแจ้งแก่พวกเจ้าลิจฉวีว่าจะกลับ ต่อนั้น พวกเจ้าลิจฉวีก็นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา ด้วยสักการะเป็นทวีคูณอีก ๓ วัน
เหล่าพระยานาคที่บังเกิดอยู่ ณ แม่น้ำคงคาคิดกันว่า พวกมนุษย์ทำสักการะแก่พระตถาคตกัน พวกเราจักไม่ทำกันบ้างหรือ จึงสร้างเรือหลายลำล้วนทำด้วยทองเงินและแก้วมณี ลาดบัลลังก์ทำด้วยทองเงินและแก้วมณี ทำน้ำให้ปกคลุมด้วยบัว ๕ สี ทูลวอนขอพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์โปรดทรงทำความอนุเคราะห์พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ เสด็จขึ้นสู่เรือแก้ว ส่วนภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ขึ้นสู่เรือของตนๆ.
พวกพระยานาคนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์เข้าไปยังพิภพนาค.
ข่าวว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่นาคบริษัท ตลอดคืนยังรุ่ง. วันที่ ๒ พวกพระยานาคพากันถวายมหาทานด้วยของเคี้ยวของฉันอันเป็นทิพย์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแล้วเสด็จออกจากพิภพนาค.
พวกภุมมเทวดาพากันคิดว่า พวกมนุษย์และนาคพากันทำสักการะแก่พระตถาคต พวกเราจักไม่ทำกันบ้างหรือ จึงช่วยกันยกฉัตรใหญ่น้อยเหนือพุ่มไม้งามในป่า ต้นไม้ และภูเขา.
โดยอุบายนั้นนั่นแล สักการะวิเศษขนาดใหญ่ ก็บังเกิดตราบถึงภพของอกนิษฐพรหม.
แม้พระเจ้าพิมพิสารก็ได้ทรงทำเป็นทวีคูณ กว่าสักการะที่พวกเจ้าลิจฉวีทรงทำครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา ทรงนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ๕ วันจึงมาถึงกรุงราชคฤห์ โดยนัยที่กล่าวมาก่อนแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงราชคฤห์แล้ว ภายหลังอาหาร พวกภิกษุที่นั่งประชุมกัน ณ ศาลาทรงกลมพูดในระหว่างกันอย่างนี้ว่า
โอ อานุภาพของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า, ที่ภูมิภาค ๘ โยชน์ ทั้งฝั่งในทั้งฝั่งนอกแห่งแม่น้ำคงคา ถูกเจาะจงปรับที่ลุ่มที่ดอนให้เรียบแล้วโรยทราย ปกคลุมด้วยดอกไม้ทั้งหลาย แม่น้ำคงคาประมาณโยชน์หนึ่งก็ถูกปกคลุมด้วยบัวสีต่างๆ ฉัตรใหญ่น้อยถูกยกขึ้นตราบถึงภพของอกนิษฐพรหม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ออกจากพระคันธกุฏีเสด็จไปยังศาลาทรงกลมด้วยปาฏิหาริย์ที่เหมาะแก่ขณะนั้น ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันประเสริฐที่เขาจัดไว้ ณ ศาลาทรงกลม.
ครั้นประทับนั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้ พวกเธอนั่งประชุมพูดกันด้วยเรื่องอะไร.
ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูลเรื่องทั้งหมด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บูชาวิเศษนี้มิได้บังเกิดเพราะพุทธานุภาพของเรา ทั้งมิใช่เพราะอานุภาพของนาคเทวดาและพรหม ที่แท้บังเกิดเพราะอานุภาพของการบริจาคเล็กๆ น้อยๆ แต่ก่อนต่างหาก.
พวกภิกษุจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ไม่รู้การบริจาคเล็กๆ น้อยๆ นั้น สาธุ! ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดตรัสบอกพวกข้าพระองค์ อย่างที่พวกข้าพระองค์จะรู้การบริจาคเล็กๆ น้อยๆ นั้นด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้วในกรุงตักกสิลา มีพราหมณ์ผู้หนึ่ง ชื่อสังขะ เขามีบุตร ชื่อสุสีมมาณพ. มาณพนั้นอายุ ๑๖ ปีโดยวัย วันหนึ่งเข้าไปหาบิดา กราบแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. บิดาถามเขาว่า อะไรพ่อสุสีมะ. เขาตอบว่า ลูกอยากไปกรุงพาราณสีเรียนศิลปะจ้ะพ่อท่าน.
พราหมณ์กล่าวว่า พ่อสุสีมะ ถ้าอย่างนั้น พ่อมีสหายเป็นพราหมณ์ชื่อโน้น พ่อจงไปหาเขาเล่าเรียนเถิด แล้วมอบทรัพย์ให้พันกหาปณะ.
สุสีมมาณพนั้นรับทรัพย์แล้ว ก็กราบมารดาบิดา เดินทางไปกรุงพาราณสีโดยลำดับ เข้าไปหาอาจารย์โดยวิธีประกอบด้วยความละเมียดละไม กราบแล้วรายงานตัว
อาจารย์รู้ว่าเป็นลูกของสหาย ก็รับมาณพไว้ ได้ทำการต้อนรับอย่างดีทุกอย่าง
มาณพนั้นคลายความเมื่อยล้าในการเดินทางไกลแล้ว ก็วางกหาปณะนั้นแทบเท้าอาจารย์ ขอโอกาสเรียนศิลปะ. อาจารย์ก็เปิดโอกาสให้เล่าเรียน เขาเรียนได้เร็วและเรียนได้มาก ทั้งทรงจำศิลปะที่รับไว้ๆ ได้ไม่เสื่อมสูญ เหมือนน้ำมันที่ใส่ลงในภาชนะทอง เขาเรียนศิลปะที่ควรจะเรียนถึง ๑๒ ปี ให้เสร็จสรรพ์ได้ โดย ๒-๓ เดือนเท่านั้น
เขาทำการสาธยายเห็นแต่เบื้องต้นและเบื้องกลางเท่านั้น ไม่เห็นเบื้องปลาย จึงเข้าไปหาอาจารย์ถามว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าเห็นแต่เบื้องต้นและเบื้องกลางของศิลปะนี้เท่านั้น ไม่เห็นเบื้องปลายเลย
อาจารย์ก็กล่าวว่า เราก็เห็นอย่างนั้นเหมือนกันแหละพ่อเอ๋ย.
เขาจึงถามว่า ท่านอาจารย์ เมื่อเป็นดังนั้น ใครเล่ารู้เบื้องปลายของศิลปะนี้.
อาจารย์กล่าวว่า พ่อเอ๋ย ที่ป่าอิสิปตนะมีฤษีหลายองค์ ฤษีเหล่านั้นคงรู้.
เขาบอกว่า อาจารย์ ข้าพเจ้าจะเข้าไปถามฤษีเหล่านั้นเอง.
อาจารย์ก็บอกว่า ไปถามตามสบายเถิด พ่อเอ๋ย.
เขาก็ไปยังป่าอิสิปตนะ เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านรู้เบื้องปลายศิลปะบ้างไหม.
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า เออ เรารู้สิท่าน.
เขาอ้อนวอนว่า โปรดให้ข้าพเจ้าศึกษาเบื้องปลายศิลปะนั้นเถิด.
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ก็บวชเสียสี ท่านผู้ไม่ใช่นักบวช ศึกษาไม่ได้ดอก.
เขารับคำว่า ดีละ เจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้าบวชเถิด. ท่านจงทำแต่ที่ท่านปรารถนาแล้วให้ข้าพเจ้าศึกษาเบื้องปลายศิลปะก็แล้วกัน.
พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้เขาบวชแล้ว ก็ไม่สามารถประกอบเขาไว้ในกรรมฐาน ให้ศึกษาได้แต่อภิสมาจาร โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านพึงนุ่งอย่างนี้. พึงห่มอย่างนี้. เขาศึกษาอยู่ในข้อนั้น แต่เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย ไม่นานนักก็ตรัสรู้ปัจเจกโพธิญาณ.
ท่านสุสีมะถึงลาภยศอันเลิศพรั่งพร้อมทั้งบริวาร ก็ปรากฏไปทั่วกรุงพาราณสีว่า เกิดเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ไม่นานนัก ท่านก็ปรินิพพาน เพราะทำกรรมที่เป็นเหตุให้อายุสั้นไว้.
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายและหมู่มหาชน ช่วยกันทำฌาปนกิจสรีระของท่าน เก็บธาตุสร้างพระสถูปไว้ใกล้ประตูพระนคร.
ฝ่ายสังขพราหมณ์คิดว่า ลูกของเราไปตั้งนานแล้ว ยังไม่รู้ข่าวคราวของเขาเลย ประสงค์จะพบบุตร จึงออกจากตักกสิลา เดินทางไปตามลำดับก็ถึงกรุงพาราณสี เห็นหมู่มหาชนประชุมกัน คิดว่าในหมู่ชนเป็นอันมาก สักคนหนึ่งคงจักรู้ข่าวคราวลูกของเราแน่แท้ จึงเข้าไปที่กลุ่มชนถามว่า มาณพชื่อสุสีมะ มาในที่นี้มีไหม ท่านรู้ข่าวคราวของเขาบ้างหรือหนอ
ชนเหล่านั้นกล่าวว่า เออ พราหมณ์ พวกเรารู้ ท่านเรียนจบไตรเพทในสำนักพราหมณ์ในพระนครนี้แล้ว บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว นี้พระสถูป เราสร้างไว้สำหรับท่าน.
สังขพราหมณ์นั้นเอามือทุบแผ่นดิน ร่ำไห้รำพันไปยังลานเจดีย์นั้น ถอนหญ้าแล้ว เอาผ้าห่มห่อทรายนำไปเกลี่ยที่ลานเจดีย์พระปัจเจกพุทธเจ้า เอาน้ำในคนโทน้ำประพรม ทำการบูชาด้วยดอกไม้ป่า เอาผ้าห่มยกขึ้นทำเป็นธง ผูกฉัตรคือร่มของตนไว้บนสถูปแล้วกลับไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเรื่องอดีตอย่างนี้แล้ว
เมื่อทรงต่อเชื่อมชาดกนั้นกับปัจจุบัน จึงตรัสธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะพึงมีความคิดว่า คนอื่นเป็นสังขพราหมณ์สมัยนั้นแน่แท้ แต่พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราเป็นสังขพราหมณ์ เราถอนหญ้าที่ลานเจดีย์ของพระสุสีมปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงทำทาง ๘ โยชน์ให้ปราศจากตอและหนาม ทำพื้นที่ให้ราบเรียบ สะอาด
เราโรยทรายที่ลานเจดีย์พระสุสีมปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงโรยทรายที่หนทาง ๘ โยชน์ เราทำบูชาที่พระสถูปนั้นด้วยดอกไม้ป่า ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงได้ทำเครื่องลาดดอกไม้ด้วยดอกไม้ป่านานาชนิด ทั้งบนบกทั้งในน้ำ ในหนทาง ๙ โยชน์ เราประพรมพื้นดินด้วยน้ำในคนโทน้ำที่พระสถูปนั้น ด้วยผลกรรมของเรานั้น ฝนโบกขรพรรษจึงตกลงที่กรุงเวสาลี เรายกธงแผ่นผ้าและผูกฉัตรที่พระเจดีย์นั้น ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงยกธงแผ่นผ้าและฉัตรใหญ่น้อย จนถึงภพอกนิษฐ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น บูชาวิเศษนี้ ไม่ใช่บังเกิดเพราะพุทธานุภาพของเรา ไม่ใช่เพราะอานุภาพของนาค เทวดา และพรหมดอก ที่แท้ บังเกิดเพราะอานุภาพของการบริจาคเล็กๆ น้อยๆ ต่างหากเล่า.
จบธรรมกถา ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
ใน ๓ คาถานั้น เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่าตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างที่คนทั้งหลายต้องขวนขวายพากันมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก, เพราะเสด็จไปอย่างที่คนเหล่านั้น จะพึงไป, เพราะทรงรู้ทั่วอย่างที่คนเหล่านั้นจะพึงรู้ทั่ว, เพราะทรงรู้อย่างที่คนเหล่านั้นจะพึงรู้, เพราะทรงประสบสิ่งที่มีที่เป็นอย่างนั้น
อนึ่ง เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาอย่างเหลือเกิน ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นที่เกิดภายนอก เป็นอุปกรณ์และที่เกิดในตนมีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นต้น ฉะนั้น
ท้าวสักกะเทวราชทรงประมวลเทวบริษัททั้งหมดกับพระองค์แล้วตรัสว่า
ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ พุทฺธํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ
พวกเรานอบน้อมพระตถาคตพุทธเจ้าผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมี.
อนึ่ง เพราะเหตุที่ในพระธรรม มรรคธรรมดำเนินไปแล้วอย่างที่พึงดำเนินไปด้วยการถอนฝ่ายกิเลส ด้วยกำลังสมถวิปัสสนาซึ่งเป็นธรรมคู่กัน แม้นิพพานธรรมอันพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงบรรลุแล้วอย่างที่ทรงบรรลุ คือแทงตลอดแล้วด้วยปัญญา พร้อมที่จะกำจัดทุกข์ทั้งปวง ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตถาคต.
อนึ่ง เพราะเหตุที่แม้พระสงฆ์ดำเนินไปแล้วอย่างที่ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนพึงดำเนินไปโดยมรรคนั้นๆ เหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตถาคต.
ฉะนั้น แม้ใน ๒ คาถาที่เหลือ ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสว่า
พวกเรานอบน้อมตถาคตธรรม ขอความสวัสดีจงมี
พวกเรานอบน้อมตถาคตสงฆ์ ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้.
คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
ท้าวสักกะเทวราชครั้นตรัส ๓ คาถานี้อย่างนี้เแล้ว ทรงทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จกลับสู่เทวบุรีพร้อมด้วยเทวบริษัท.
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรัตนสูตรนั้นนั่นแล. แม้ในวันที่ ๒ สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้ตรัสรู้ธรรม. ทรงแสดงอย่างนี้ ถึงวันที่ ๗. การตรัสรู้ธรรมก็ได้มีอย่างนั้นนั่นแหละ ทุกๆ วัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงเวสาลีกึ่งเดือนแล้ว จึงทรงแจ้งแก่พวกเจ้าลิจฉวีว่าจะกลับ ต่อนั้น พวกเจ้าลิจฉวีก็นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา ด้วยสักการะเป็นทวีคูณอีก ๓ วัน
เหล่าพระยานาคที่บังเกิดอยู่ ณ แม่น้ำคงคาคิดกันว่า พวกมนุษย์ทำสักการะแก่พระตถาคตกัน พวกเราจักไม่ทำกันบ้างหรือ จึงสร้างเรือหลายลำล้วนทำด้วยทองเงินและแก้วมณี ลาดบัลลังก์ทำด้วยทองเงินและแก้วมณี ทำน้ำให้ปกคลุมด้วยบัว ๕ สี ทูลวอนขอพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์โปรดทรงทำความอนุเคราะห์พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ เสด็จขึ้นสู่เรือแก้ว ส่วนภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ขึ้นสู่เรือของตนๆ.
พวกพระยานาคนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์เข้าไปยังพิภพนาค.
ข่าวว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่นาคบริษัท ตลอดคืนยังรุ่ง. วันที่ ๒ พวกพระยานาคพากันถวายมหาทานด้วยของเคี้ยวของฉันอันเป็นทิพย์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแล้วเสด็จออกจากพิภพนาค.
พวกภุมมเทวดาพากันคิดว่า พวกมนุษย์และนาคพากันทำสักการะแก่พระตถาคต พวกเราจักไม่ทำกันบ้างหรือ จึงช่วยกันยกฉัตรใหญ่น้อยเหนือพุ่มไม้งามในป่า ต้นไม้ และภูเขา.
โดยอุบายนั้นนั่นแล สักการะวิเศษขนาดใหญ่ ก็บังเกิดตราบถึงภพของอกนิษฐพรหม.
แม้พระเจ้าพิมพิสารก็ได้ทรงทำเป็นทวีคูณ กว่าสักการะที่พวกเจ้าลิจฉวีทรงทำครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา ทรงนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ๕ วันจึงมาถึงกรุงราชคฤห์ โดยนัยที่กล่าวมาก่อนแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงราชคฤห์แล้ว ภายหลังอาหาร พวกภิกษุที่นั่งประชุมกัน ณ ศาลาทรงกลมพูดในระหว่างกันอย่างนี้ว่า
โอ อานุภาพของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า, ที่ภูมิภาค ๘ โยชน์ ทั้งฝั่งในทั้งฝั่งนอกแห่งแม่น้ำคงคา ถูกเจาะจงปรับที่ลุ่มที่ดอนให้เรียบแล้วโรยทราย ปกคลุมด้วยดอกไม้ทั้งหลาย แม่น้ำคงคาประมาณโยชน์หนึ่งก็ถูกปกคลุมด้วยบัวสีต่างๆ ฉัตรใหญ่น้อยถูกยกขึ้นตราบถึงภพของอกนิษฐพรหม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ออกจากพระคันธกุฏีเสด็จไปยังศาลาทรงกลมด้วยปาฏิหาริย์ที่เหมาะแก่ขณะนั้น ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันประเสริฐที่เขาจัดไว้ ณ ศาลาทรงกลม.
ครั้นประทับนั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้ พวกเธอนั่งประชุมพูดกันด้วยเรื่องอะไร.
ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูลเรื่องทั้งหมด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บูชาวิเศษนี้มิได้บังเกิดเพราะพุทธานุภาพของเรา ทั้งมิใช่เพราะอานุภาพของนาคเทวดาและพรหม ที่แท้บังเกิดเพราะอานุภาพของการบริจาคเล็กๆ น้อยๆ แต่ก่อนต่างหาก.
พวกภิกษุจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ไม่รู้การบริจาคเล็กๆ น้อยๆ นั้น สาธุ! ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดตรัสบอกพวกข้าพระองค์ อย่างที่พวกข้าพระองค์จะรู้การบริจาคเล็กๆ น้อยๆ นั้นด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้วในกรุงตักกสิลา มีพราหมณ์ผู้หนึ่ง ชื่อสังขะ เขามีบุตร ชื่อสุสีมมาณพ. มาณพนั้นอายุ ๑๖ ปีโดยวัย วันหนึ่งเข้าไปหาบิดา กราบแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. บิดาถามเขาว่า อะไรพ่อสุสีมะ. เขาตอบว่า ลูกอยากไปกรุงพาราณสีเรียนศิลปะจ้ะพ่อท่าน.
พราหมณ์กล่าวว่า พ่อสุสีมะ ถ้าอย่างนั้น พ่อมีสหายเป็นพราหมณ์ชื่อโน้น พ่อจงไปหาเขาเล่าเรียนเถิด แล้วมอบทรัพย์ให้พันกหาปณะ.
สุสีมมาณพนั้นรับทรัพย์แล้ว ก็กราบมารดาบิดา เดินทางไปกรุงพาราณสีโดยลำดับ เข้าไปหาอาจารย์โดยวิธีประกอบด้วยความละเมียดละไม กราบแล้วรายงานตัว
อาจารย์รู้ว่าเป็นลูกของสหาย ก็รับมาณพไว้ ได้ทำการต้อนรับอย่างดีทุกอย่าง
มาณพนั้นคลายความเมื่อยล้าในการเดินทางไกลแล้ว ก็วางกหาปณะนั้นแทบเท้าอาจารย์ ขอโอกาสเรียนศิลปะ. อาจารย์ก็เปิดโอกาสให้เล่าเรียน เขาเรียนได้เร็วและเรียนได้มาก ทั้งทรงจำศิลปะที่รับไว้ๆ ได้ไม่เสื่อมสูญ เหมือนน้ำมันที่ใส่ลงในภาชนะทอง เขาเรียนศิลปะที่ควรจะเรียนถึง ๑๒ ปี ให้เสร็จสรรพ์ได้ โดย ๒-๓ เดือนเท่านั้น
เขาทำการสาธยายเห็นแต่เบื้องต้นและเบื้องกลางเท่านั้น ไม่เห็นเบื้องปลาย จึงเข้าไปหาอาจารย์ถามว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าเห็นแต่เบื้องต้นและเบื้องกลางของศิลปะนี้เท่านั้น ไม่เห็นเบื้องปลายเลย
อาจารย์ก็กล่าวว่า เราก็เห็นอย่างนั้นเหมือนกันแหละพ่อเอ๋ย.
เขาจึงถามว่า ท่านอาจารย์ เมื่อเป็นดังนั้น ใครเล่ารู้เบื้องปลายของศิลปะนี้.
อาจารย์กล่าวว่า พ่อเอ๋ย ที่ป่าอิสิปตนะมีฤษีหลายองค์ ฤษีเหล่านั้นคงรู้.
เขาบอกว่า อาจารย์ ข้าพเจ้าจะเข้าไปถามฤษีเหล่านั้นเอง.
อาจารย์ก็บอกว่า ไปถามตามสบายเถิด พ่อเอ๋ย.
เขาก็ไปยังป่าอิสิปตนะ เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านรู้เบื้องปลายศิลปะบ้างไหม.
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า เออ เรารู้สิท่าน.
เขาอ้อนวอนว่า โปรดให้ข้าพเจ้าศึกษาเบื้องปลายศิลปะนั้นเถิด.
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ก็บวชเสียสี ท่านผู้ไม่ใช่นักบวช ศึกษาไม่ได้ดอก.
เขารับคำว่า ดีละ เจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้าบวชเถิด. ท่านจงทำแต่ที่ท่านปรารถนาแล้วให้ข้าพเจ้าศึกษาเบื้องปลายศิลปะก็แล้วกัน.
พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้เขาบวชแล้ว ก็ไม่สามารถประกอบเขาไว้ในกรรมฐาน ให้ศึกษาได้แต่อภิสมาจาร โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านพึงนุ่งอย่างนี้. พึงห่มอย่างนี้. เขาศึกษาอยู่ในข้อนั้น แต่เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย ไม่นานนักก็ตรัสรู้ปัจเจกโพธิญาณ.
ท่านสุสีมะถึงลาภยศอันเลิศพรั่งพร้อมทั้งบริวาร ก็ปรากฏไปทั่วกรุงพาราณสีว่า เกิดเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ไม่นานนัก ท่านก็ปรินิพพาน เพราะทำกรรมที่เป็นเหตุให้อายุสั้นไว้.
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายและหมู่มหาชน ช่วยกันทำฌาปนกิจสรีระของท่าน เก็บธาตุสร้างพระสถูปไว้ใกล้ประตูพระนคร.
ฝ่ายสังขพราหมณ์คิดว่า ลูกของเราไปตั้งนานแล้ว ยังไม่รู้ข่าวคราวของเขาเลย ประสงค์จะพบบุตร จึงออกจากตักกสิลา เดินทางไปตามลำดับก็ถึงกรุงพาราณสี เห็นหมู่มหาชนประชุมกัน คิดว่าในหมู่ชนเป็นอันมาก สักคนหนึ่งคงจักรู้ข่าวคราวลูกของเราแน่แท้ จึงเข้าไปที่กลุ่มชนถามว่า มาณพชื่อสุสีมะ มาในที่นี้มีไหม ท่านรู้ข่าวคราวของเขาบ้างหรือหนอ
ชนเหล่านั้นกล่าวว่า เออ พราหมณ์ พวกเรารู้ ท่านเรียนจบไตรเพทในสำนักพราหมณ์ในพระนครนี้แล้ว บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว นี้พระสถูป เราสร้างไว้สำหรับท่าน.
สังขพราหมณ์นั้นเอามือทุบแผ่นดิน ร่ำไห้รำพันไปยังลานเจดีย์นั้น ถอนหญ้าแล้ว เอาผ้าห่มห่อทรายนำไปเกลี่ยที่ลานเจดีย์พระปัจเจกพุทธเจ้า เอาน้ำในคนโทน้ำประพรม ทำการบูชาด้วยดอกไม้ป่า เอาผ้าห่มยกขึ้นทำเป็นธง ผูกฉัตรคือร่มของตนไว้บนสถูปแล้วกลับไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเรื่องอดีตอย่างนี้แล้ว
เมื่อทรงต่อเชื่อมชาดกนั้นกับปัจจุบัน จึงตรัสธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะพึงมีความคิดว่า คนอื่นเป็นสังขพราหมณ์สมัยนั้นแน่แท้ แต่พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราเป็นสังขพราหมณ์ เราถอนหญ้าที่ลานเจดีย์ของพระสุสีมปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงทำทาง ๘ โยชน์ให้ปราศจากตอและหนาม ทำพื้นที่ให้ราบเรียบ สะอาด
เราโรยทรายที่ลานเจดีย์พระสุสีมปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงโรยทรายที่หนทาง ๘ โยชน์ เราทำบูชาที่พระสถูปนั้นด้วยดอกไม้ป่า ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงได้ทำเครื่องลาดดอกไม้ด้วยดอกไม้ป่านานาชนิด ทั้งบนบกทั้งในน้ำ ในหนทาง ๙ โยชน์ เราประพรมพื้นดินด้วยน้ำในคนโทน้ำที่พระสถูปนั้น ด้วยผลกรรมของเรานั้น ฝนโบกขรพรรษจึงตกลงที่กรุงเวสาลี เรายกธงแผ่นผ้าและผูกฉัตรที่พระเจดีย์นั้น ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงยกธงแผ่นผ้าและฉัตรใหญ่น้อย จนถึงภพอกนิษฐ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น บูชาวิเศษนี้ ไม่ใช่บังเกิดเพราะพุทธานุภาพของเรา ไม่ใช่เพราะอานุภาพของนาค เทวดา และพรหมดอก ที่แท้ บังเกิดเพราะอานุภาพของการบริจาคเล็กๆ น้อยๆ ต่างหากเล่า.
จบธรรมกถา ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
มตฺตาสุขปริจฺจาคา
|
ปสฺเส
เจ วิปุลํ สุขํ
|
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร
|
สมฺปสฺสํ
วิปุลํ สุขํ.
|
ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์
เพราะสสะสุขพอประมาณไซร้
ผู้มีปัญญา เมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์ พึงสสะสุขพอประมาณเสีย ดังนี้.
ผู้มีปัญญา เมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์ พึงสสะสุขพอประมาณเสีย ดังนี้.
(จบพรรณารัตนสูตร แห่ง อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อปรมัตถโชติกา )
ขุททกนิกาย
ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ภูตเหล่าใด
ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา
เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็น
ผู้มีใจดีและจงฟังภาษิตโดยเคารพ ดูกรภูตทั้งปวง
เพราะ
เหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง
ขอจงแผ่เมตตาจิต
ในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใด
นำพลีกรรมไปทั้งกลางวัน
ทั้งกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่
ประมาทรักษามนุษย์เหล่านั้น
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใด
อย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น
หรือรัตนะใดอันประณีต
ในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้น
เสมอด้วยพระตถาคตไม่มี
เลย พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระศากยมุนีมีพระหฤทัย
ดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส
เป็นที่
สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรมอันประณีต ธรรมชาติอะไรๆ
เสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี
ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะ
อันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ทรงสรรเสริญแล้ว
ซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด
บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
ซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับ
สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้น
ย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วย
สัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
บุคคล ๘
จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
บุคคล
เหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระตถาคต
ทาน
ที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก
สังฆรัตนะ
แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมี
แก่สัตว์เหล่านี้ พระอริยบุคคลเหล่าใด
ในศาสนาของพระ
โคดม ประกอบดีแล้ว [ด้วยกายประโยคและวจีประโยค
อันบริสุทธิ์] มีใจมั่นคง เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
[ในกายและ
ชีวิต] พระอริยบุคคลเหล่านั้น
บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุ
หยั่งลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่า
เสวย
ผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจา
นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน
ไม่หวั่นไหวเพราะลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด
ผู้ใดพิจารณาเห็น
อริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสัตบุรุษ
ผู้ไม่หวั่นไหว
เพราะโลกธรรมมีอุปมาฉันนั้น
สังฆรัตนะนี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
พระอริยบุคคลเหล่าใด
ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อัน
พระศาสดาทรงแสดงดีแล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง
พระอริย-
บุคคลเหล่านั้น
ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง ถึง
กระนั้น ท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘
สังฆรัตนะแม้นี้เป็น
รัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่
สัตว์เหล่านี้ สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา
หรือแม้สีลัพพตปรา
มาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น
อันพระอริย
บุคคลนั้นละได้แล้ว
พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็น
[นิพพาน] ทีเดียว อนึ่ง
พระอริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจาก
อบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานทั้ง ๖
[คืออนันตริย-
กรรม ๕ และการเข้ารีด] สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
พระอริยบุคคลนั้นยังทำบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา
หรือ
ด้วยใจ ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านไม่ควร
เพื่อจะปกปิดบาป
กรรมอันนั้น
ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพานอันตน
เห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้น
พระผู้มี
พระภาคตรัสแล้ว
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พุ่มไม้
ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นในคิมหันตฤดู
ฉันใด
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง
เป็น
เครื่องให้ถึงนิพพาน
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลมีอุปมา ฉันนั้น
พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอ
ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ
ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า
ได้ทรง
แสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
เหล่านี้
พระอริยบุคคลเหล่าใดผู้มีจิตอันหน่ายแล้วในภพ
ต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว
ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพ
พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชอันสิ้นแล้ว
มีความพอใจ
ไม่งอกงามแล้ว เป็นนักปราชญ์ ย่อมนิพพาน เหมือน
ประทีปอันดับไป ฉะนั้น
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี
หรือภุมมเทวดา
เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย
จงนมัสการ
พระพุทธเจ้าผู้ไปแล้วอย่างนั้น
ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
ภูตเหล่า
ใดประชุมกันแล้วในประเทศก็ดี
หรือภุมมเทวดาเหล่าใด
ประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
เราทั้งหลายจงนมัสการพระ
ธรรม อันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและมนุษย์บูชา
แล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
ภูตเหล่าใดประชุม
กันแล้วในประเทศนี้ก็ดี
หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกัน
แล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย
จงนมัสการพระสงฆ์ผู้ไปแล้ว
อย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
ขอความสวัสดีจง
มีแก่สัตว์เหล่านี้ ฯ
จบรัตนสูตร ฯ
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น