บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2019

ข้าว ประเพณีเกี่ยวข้าว ลงแขก สามัคคีธรรม พลังแห่งหมู่คณะ

รูปภาพ
ข้าว เป็นปัจจัยหลักในการบริโภคในชีวิตประจำวัน การปลูกข้าวจึงมีความสำคัญต่อคนไทย วิถีชีวิตของคนไทยจึงผูกพันอยู่กับข้าว ก่อให้เกิดพิธีกรรมเกี่ยวกับการปลูกข้าวหรือการทำนา    ประเพณีลงแขกจึงเป็นประเพณีที่สำคัญเพราะเกี่ยวข้องกับการทำนาข้าว  โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้ การดำนา   เกี่ยวข้าว นวดข้าว และการเก็บข้าวขึ้นยุ้งฉาง  แต่ละลำดับขั้นตอนมีความสำคัญมาก ล้วนแต่เป็นงานที่หนักและต้องใช้กำลังคนเป็นจำนวนมาก จึงต้องมีการร่วมมือร่วมใจสามัคคีเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว จึงเป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคี และแสดงน้ำใจที่มีให้กันในการอยู่ร่วมกันในชุมชน ตอนที่ 1 ประเพณีการเกี่ยวข้าว ประเพณีเกี่ยวข้าวภาคกลาง การลงแขกเกี่ยวข้าวภาคกลาง มีขึ้นในช่วงเดือนอ้ายและเดือนยี่  ชาวนาจะมาร่วมแรงร่วมใจกันช่วยกันเกี่ยวข้าว ด้วยการเริ่มต้นเข้าแถวเรียงหน้ากระดาน และเกี่ยวในแนว ของตน จากนั้นช่วยกันรวบรวมมัดกำข้าวเป็นฟ่อน ๆ รวมกันหาบเข้าสู่ลานข้าว    มีการเก็บรวงข้าว

ดอกไม้ ดอกไม้ในสวยดอก ดอกไม้ในขันแก้วทั้งสาม ศรัทธาที่มีต่อพระรัตนตรัย

รูปภาพ
ดอกไม้ ดอกไม้ในสวยดอก ดอกไม้ในขันแก้วทั้งสาม วิถีศรัทธาที่มีต่อพระรัตนตรัย       เมื่อชาวล้านนารับพระพุทธศาสนา ด้วยความเคารพ เลื่อมใส ศรัทธา  ดังนั้นในโอกาสที่สำคัญ เช่น วันพระ  ชาวพุทธล้านนาจะไปทำบุญที่วัด สิ่งที่นำไปด้วยนอกเหนือจากเครื่องไทยธรรม และภัตตาหาร สิ่งหนึ่งที่ชาวพุทธล้านนาจะต้องนำไปด้วย คือ สวยดอกไม้                               Cr.ภาพ arayadusit ตอนที่ 1 ดอกไม้ใน สวยดอก  ดอกไม้ในสวยดอก หมายถึง ดอกไม้ที่ใส่ในกระสวยที่ทำจากใบตอง ใบไม้ที่สามารถขดม้วนเป็นรูปกรวย บางครั้งใช้กระดาษขดม้วนเป็นรูปกรวย ชาวล้านนาออกเสียงจากคำว่า "กระสวย " เป็น "สวย " นักวิชาการ รองศาสตราจารย์ จารุนันท์ เชาวน์ดี   กล่าวไว้ว่า สวยดอกไม้ เป็นเพียงส่วนประกอบเล็กน้อยของพิธีกรรมหรือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องสักการะบูชา แต่สิ่งนี้คือเอกลักษณ์ของล้านนา  ชาวล้านนามีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทำให้มีความเชื่อว่า ดอกไม้ คือของหอมที่ใช้สำหรับบูชาเป็นเครื่องแสดงถึงความเคารพสักการะ รูปแบบของสวยดอกไม้แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. สวยดอกไม้แบบธรรมดา คือ สวยที่ใช้ใบตองม้วนเป

ลอยโคม จุดผางประทีป ลอยกระทงล่องสะเปา คืนยี่เป็ง

รูปภาพ
ลอยโคม จุดผางประทีป ลอยกระทง และ ยี่เป็ง จากการจุดประทีปในวันพระมาจนถึงเดือนยี่ของชาวล้านนาหรือที่เรียกกันว่ายี่เป็งเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวงขึ้น 15ค่ำเดือน 12 เป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างดี ฝนขาดช่วงไปแล้ว และมีการเก็บเกี่ยวพืชผล เป็นช่วงออกพรรษาและการทอดกฐิน เข้าสู่ประเพณียี่เป็งซึ่งมีกิจกรรมที่กระทำร่วมกันหลายวัน กิจกรรมต่าง ๆ มีพอสังเขปดังนี้ ตอนที่ 1 การจุดผางประทีปในประเพณียี่เป็ง วันลอยกระทง ผางประทีป ประทีปตีนกา ประทีปแห่งความเคารพศรัทธาและความกตัญญู จากตำนานแม่กาเผือก ที่สั่งเสียให้พระฤาษีทั้ง 5 ฟั่นด้ายเป็นรูปตีนกา หล่อน้ำมันในกระถางดินเผาที่เรียกกันว่าผาง ชาวล้านนาเรียกกันว่าผางประที้ด กลายมาเป็นประเพณีที่นอกเหนือจากการจุดประทีปบูชาพระรัตนตรัยในวันพระ ในวันเพ็ญขึ้น เดือนยี่เหนือหรือเดือน 12 ในภาคกลาง                       Cr.ภาพ Arayadusit  ผางประทีป ชาวพุทธล้านนาจุดประทีปในผางประทีปบูชาพระรัตนตรัยที่หิ้งพระเป็นลำดับแรก ก่อนที่จะจุดประทีปเท่ากับอายุของสมาชิกในบ้าน ผู้เขียนจำได้ถึงตอนสมัยเด็ก ๆ ยายของผู้เขียนเดินมาดูพระจันทร์เต็มดวง พูดว่ายี่เป

ตำนานแม่กาเผือก

รูปภาพ
นะ โม พุท ธา ยะ เกี่ยวข้องอย่างไรกับแม่กาเผือก? ตำนานนี้ก่อให้เกิดประเพณีอะไร? ตอนที่ 1 เรื่องของแม่กาเผือกเป็นตำนานที่ชาวล้านนาเล่าขานกันต่อ ๆมาจากรุ่นสู่รุ่น และต่อมาได้มีการบันทึกด้วยการจารลงในใบลาน เมื่อมีการทำกระดาษเกิดขึ้นจึงได้มีการเขียนลงในกระดาษสาหรือทางล้านนาเรียกว่า "ปั๊บสา" พ่อกาเผือกและแม่กาเผือกได้ทำรังบนต้นมะเดื่อริมแม่น้ำ ต่อมาแม่กาเผือกไข่ออกมาห้าใบ พ่อกาเผือกและแม่กาเผือกผลัดกันฟักไข่อย่างทะนุถนอมด้วยความรักใคร่ห่วงใย วันหนึ่ง สองสามีภริยาได้บินออกจากรังไปหาอาหารด้วยกัน ระหว่างนั้นได้เกิดพายุใหญ่พัดแรงจนไข่ทั้งห้าใบตกลงไปในแม่น้ำ ล่อยละล่องไปตามกระแสน้ำที่เชียวกราก ไข่ทั้ง 5 ใบไปติดตามตลิ่งต่าง ๆ เมื่อพายุสงบ พ่อกาเผือกและแม่กาเผือกได่้บินกลับมาที่รัง เมื่อไม่เห็นไข่ทั้งห้า จึงพากันบินตามหาไข่ทั้งห้าใบ ต่างบินตามหาจนอ่อนล้า และเหน็ดเหนื่อย ด้วยความเสียใจและอาลัยอาวรณ์ พ่อแม่กาเผือกจึงตรอมใจตายทั้งคู่ เมื่อตายแล้วทั้งคู่ได้ไปเกิดบนชั้นพรหม แม่กาเผือกได้ไปเป็นท้าวพกาพรหม เพราะเป็นผู้ที่ให้กำเนิดไข่ทั้งห้าใบและผู้ที่มาเกิดเป็นผู้ที่บำ