ว่าด้วยศีลและวัตร และธุดงควัตร

ว่าด้วยศีลและวัตร และธุดงควัตร

ภาพจากwww.dmc.tv

         เป็นที่ทราบกันมาแล้วว่า ศีลที่ฆราวาสถือเป็นปรกติ คือศิล 5 อุโบสถศิล คือศิลแปด สามเณร มีศิลสิบข้อและพระภิกษุมีศิล 227ข้อ  ครั้นมีธรรมยาตราเกิดขึ้น จึงมีคำถามมากมายในเรื่องการธุดงค์    ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ท่านแจงเรื่องศิลและวัตร ออกมาอย่างชัดเจน  ดังปรากฎดังนี้

     เป็นศีลและเป็นวัตรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความ
สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณ
น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วง ใน
สิกขาบททั้งหลายนั้น นี้เป็นศีล. ความสมาทานชื่อว่าเป็นวัตร. เพราะอรรถว่าสำรวม จึงชื่อว่าศีล
เพราะอรรถว่า สมาทานจึงชื่อว่าวัตร นี้เรียกว่าเป็นศีลและเป็นวัตร.
     เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีลเป็นไฉน? ธุดงค์ (องค์ของภิกษุผู้กำจัดกิเลส) คือ 
อารัญญิกังคธุดงค์
ปิณฑปาติกังคธุดงค์ 
ปังสุกูลิกังคธุดงค์
เตจีวริกังคธุดงค์ 
สปทานจาริกังคธุดงค์
ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์
เนสัชชิกังคธุดงค์
ยถาสันถติกังคธุดงค์ 
นี้เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล


พระไตรปิฎกฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ 29ข้อที่81 หน้า60สุตตันตปิฎก   ขุททกนิกาย มหานิเทส

ภาพจากwww.dmc.tv
นคัมภีร์วิสุทธิมรรค เล่ม 1 ภาคศีล ปริเฉทที่ 2   ธุตังคนิเทศ   ท่านได้อธิบายเพิ่มเติม  ดังนี้

ธุตังคกถา
ธุดงค์ 13 ประการ
ก็แหละพระผู้มีพระภาคได้ทรงอนุญาตธุดงค์ไว้สำหรับ กุลบุตรทั้งหลายผู้สละโลกามิสแล้ว ผู้ไม่เสียดายอาลัยในร่างกายและชีวิต ผู้ปรารถนาจะทำข้อปฏิบัติอันสมควรแก่ นิพพานให้ถึงพร้อม รวมเป็น 13 ประการ คือ
1. ปังสุกูลิกังคธุดงค์
2. เตจีวริกังคธุดงค์
3. ปิณฑปาติกังคธุดงค์
4. สปทานจาริกังคธุดงค์
5. เอกาสนิกังคธุดงค์
6. ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์
7. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์
8. อารัญญิกังคธุดงค์
9. รุกขมูลิกังคธุดงค์
10. อัพโภกาสิกังคธุดงค์
11. โสสานิกังคธุดงค์
12. ยถาสันถติกังคธุดงค์
13. เนสัชชิกังคธุดงค์




1. ปังสุกูลิกังคะ
ผ้าใดเป็นเหมือนผ้าที่สะสมด้วยขี้ฝุ่น ณ ที่นั้น ๆ โดยที่ฟุ้งตลบไป เพราะเหตุวางทิ้งไว้บนขี้ฝุ่น ณ ที่ใดที่หนึ่ง เช่น ถนน, ป่าช้าและกองขยะมูลฝอยเป็นต้น ผ้านั้นชื่อว่า ผ้าบังสุกูล
อีกนัยหนึ่ง ผ้าใดซึ่งภาวะที่น่าเกลียด คือ ถึงซึ่งภาวะที่น่าสยะแสยง เหมือนขี้ฝุ่น ผ้านั้น ชื่อว่า ผ้าบังสุกูล
การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกูลอันได้อรรถวิเคราะห์อย่างนี้ ชื่อว่า ปังสุกูล แปลว่า การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกูล, การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกูลนั้นเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า ปังสุกูลิโก แปลว่า ผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันทรงไว้ซึ่ง ผ้าบังสุกุลเป็นปกติ ชื่อว่า ปังสุกูลิกังคะ
เหตุ เรียกว่า องค์ เพราะฉะนั้น นักศึกษาพึงเข้าใจว่าภิกษุนั้นเป็นผู้มีอันทรงไว้ ซึ่งผ้าบังสุกูลเป็นปกติ ด้วยเจตนาเป็นเหตุสมาทานอันใด คำว่า องค์ นี้เป็นชื่อของเจตนาเป็นเหตุสมาทานอันนั้น

2. เตจีวริกังคะ
โดยนัยอย่างเดียวกันนั้น การทรงไว้ซึ่งผ้า 3 ผืน คือ ผ้าสังฆาฏิ 1 ผ้าอุตตราสงค์ 1ผ้าอันตรวาสก 1 เป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า เตจีวริโก แปลว่า ผู้มีอันทรงไว้ ซึ่งผ้า 3 ผืนเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้า 3 ผืนเป็นปกติ ชื่อว่า เตจีวริกังคะ

3. ปิณฑปาติกังคะ
การตกลงแห่งก้อนอามิสคือภิกษาหาร ได้แก่การตกลงในบาตรแห่งก้อนข้าวที่ผู้อื่นเขาถวาย ชื่อว่า ปิณฑปาต ภิกษุใดแสวงหาบิณฑบาตนั้น คือเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ๆ แสวงหาอยู่ ภิกษุนั้นชื่อว่า ปิณฑปาติโก แปลว่า ผู้แสวงหาซึ่งบิณฑบาต
อีกอย่างหนึ่ง การเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตเป็นธรรมเนียมของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า ปิณฑปาตี แปลว่า ผู้มีอันเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตเป็นธรรมเนียม
บทว่า ปติตํแปลว่า การเที่ยวไป บทว่า ปิณฺฑปาตี กับบทว่า ปิณฺฑปาติโก ความเหมือนกัน, องค์แห่งภิกษุผู้แสวงหาซึ่งบิณฑบาต หรือองค์แห่งภิกษุผู้มีอันเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตเป็นธรรมเนียม ชื่อว่า ปิณฑปาติกังคะ

4. สปทานจาริกังคะ
การขาดตอนเรียกว่า ทานะ กิจใดที่ปราศจากการขาดตอน คือไม่ขาดตอน กิจนั้นเรียกว่า อปทานะ กิจใดเป็นไปกับด้วยการไม่ขาดตอน ได้แก่เว้นการขาดระยะ คือ ไปตามลำดับเรือน กิจนั้นชื่อว่า สปทานะ การเที่ยวไป (บิณฑบาต) อย่างไม่ขาดตอน (คือไปตามลำดับเรือน) นี้ เป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า สปทานจารี แปลว่า ผู้มีอันเที่ยวไปอย่างไม่ขาดตอนเป็นปกติ
บทว่า สปทานจารี กับบทว่า สปทานจาริโก ความเหมือนกัน, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันเที่ยวไปอย่างไม่ขาดตอนเป็นปกติ ชื่อว่า สปทานจาริกังคะ

5. เอกาสนิกังคะ
การฉันในที่นั่งอันเดียว ชื่อว่า เอกาสนะ การฉันในที่นั่งอันเดียวนั้นเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า เอกาสนิโก แปลว่า ผู้มีอันฉันในที่นั่งอันเดียวเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันฉันในที่นั่งอันเดียวกันเป็นปกตินั้น ชื่อว่า เอกาสนิกังคะ

6. ปัตตปิณฑิตังคะ
บิณฑบาตเฉพาะแต่ในบาตรอย่างเดียวเท่านั้น เพราะห้ามภาชนะอันที่สองเสีย ชื่อว่า ปัตตปิณโฑ แปลว่า บิณฑบาตในบาตร บิณฑบาตในบาตรเป็นปกติของภิกษุนี้เพราะในขณะหยิบเอาบิณฑบาตในบาตรก็ทำความสำนึกว่าเป็นบิณฑบาตในบาตร เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า ปัตตปิณฑิใก แปลว่า ผู้มีบิณฑบาตในบาตรเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีบิณฑบาตในบาตรเป็นปกตินั้น ชื่อว่า ปัตตปิณฑิกังคะ


7. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ
คำว่า ขลุ เป็นศัพท์นิบาตลงในความปฏิเสธ ภัตตาหารที่ได้มาหลังจากที่ตนห้ามแล้ว ชื่อว่า ปัจฉาภัตตัง การฉันปัจฉาภัตรนั้น ชื่อว่า ปัจฉาภัตตโภชนัง การฉันปัจฉาภัตรเป็นปกติของภิกษุนี้ เพราะรู้อยู่ว่า เป็นปัจฉาภัตรในขณะฉันปัจฉาภัตร เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า ปัจฉาภัตติโก แปลว่า ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตรเป็นปกติ ภิกษุผู้มิใช่ปัจฉาภัตติโก ชื่อว่า ขลุปัจฉาภัตติโก แปลว่า ผู้มิใช่ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตรเป็นปกติ คำนี้เป็นชื่อของโภชนะที่มากเกินไป ซึ่งท่านห้ามไว้ด้วยอำนาจแห่งการสมาทาน
ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาพรรณนาไว้ว่า คำว่า ขลุ ได้แก่นกประเภทหนึ่ง นกขลุนั้นเอาปากคาบผลไม้แล้ว ครั้นผลไม้นั้นล่วงไปจากปากแล้วก็ไม่ยอมกินผลไม้อื่นอีก ภิกษุนี้มีปฏิปทาเหมือนนกขลุนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ขลุปัจฉาภัตติโก แปลว่า มิใช่ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตรเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุมิใช่ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตรเป็นปกตินั้น ชื่อว่า ขลุปัจฉาภัตติกังคะ

8. อารัญญิกังคะ
การอยู่ในป่าเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า อารัญญิโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ในป่าเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ในป่าเป็นปกตินั้น ชื่อว่า อารัญญิกังคะ

9. รุกขมูลิกังคะ
การอยู่ ณ ที่โคนไม้ ชื่อว่า รุกขมูล การอยู่ ณ ที่โคนไม้นั้นเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า รุกขมูลิโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ ณ ที่โคนไม้เป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ ณ ที่โคนไม้เป็นปกติชื่อว่า รุกขมูลิกังคะ

10. อัพโภกาสิกังคะ
การอยู่ ณ ที่กลางแจ้งเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า อัพโภกาสิโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ ณ ที่กลางแจ้งเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ ณ ที่กลางแจ้งเป็นปกติ ชื่อว่า อัพโภกาสิกังคะ


11
. โสสานิกังคะ
การอยู่ในป่าช้าเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า โสสานิโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ ชื่อว่า โสสานิกังคะ

12. ยถาสันถติกังคะ
เสนาสนะที่จัดแจงไว้อย่างไรนั่นนั่นเทียว ชื่อว่า ยถาสันถตะ คำนี้เป็นชื่อของเสนาสนะที่สงฆ์มอบให้แต่แรกด้วยคำว่า เสนาสนะนี้ถึงแก่ท่าน การอยู่ในเสนาสนะที่จัดแจงไว้อย่างนั้น เป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า ยถาสันถติโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ในเสนาสนะที่จัดแจงไว้แล้วอย่างไรเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ในเสนาสนะที่จัดแจงไว้แล้วอย่างไรเป็นปกตินั้น ชื่อว่า ยถาสันถติกังคะ

13. เนสัชชิกังคะ
การห้ามอิริยาบถนอนเสียแล้วอยู่ด้วยอิริยาบถนั่งเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า เนสัชชิโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ด้วยอิริยาบถนั่งเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ด้วยอิริยาบถนั่งเป็นปกตินั้น ชื่อว่า เนสัชชิกังคะ

อรรถาธิบายธุตังคะ
ก็แหละ ธุดงค์ทั้งหมดนั้นนั่นเทียวเป็น องค์ แห่งภิกษุผู้ซึ่งได้ชื่อว่า ธุตะ เพราะเป็นผู้มีกิเลส (คือตัณหาและอุปาทาน) อันกำจัดแล้ว ด้วยเจตนาเป็นเครื่องสมาทานนั้นๆ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ธุตังคะ
อีกอย่างหนึ่ง ญาณอันได้โวหารว่า ธุตะ เพราะเป็นเครื่องกำจัดกิเลส เป็น เหตุ แห่งการสมาทานเหล่านั้น ฉะนั้น การสมาทานเหล่านั้น จึงชื่อว่า ธุตังคะ
อีกอย่างหนึ่ง การสมาทานเหล่านั้น ชื่อว่า ธุตะ เพราะเป็นเครื่องกำจัดซึ่งธรรม อันเป็นข้าศึกด้วย เป็น เหตุ แห่งสัมมาปฏิบัติด้วย เพราะฉะนั้น การสมาทานเหล่านั้น จึงชื่อว่า ธุตังคะ
องค์ที่เป็นหัวใจ 3 ดังอธิบายมานี้ กับองค์ที่ไม่เจือปนอีก5 คือ อารัญญิกังคะ  ปังสุกูลิกังคะ  เตจีวริกังคะ  เนสัชชิกังคะ โสสานิกังคะ จึงรวมเป็นธุดงค์โดยย่อ 8ประการพอดี
อีกประการหนึ่ง ธุดงค์ 13ประการนี้ สงเคราะห์ลงมีเพียง 4 ประการเท่านั้น คือธุดงค์ที่ประกอบด้วยจีวร 2 ที่ประกอบด้วยบิณฑบาต 5 ที่ประกอบเสนาสนะ 5 ที่ประกอบด้วยความเพียร 1
ในบรรดาธุดงค์เหล่านี้ เนสัชชิกังคธุดงค์ จัดเป็นธุดงค์ที่ประกอบด้วยความเพียร ธุดงค์นอกนี้ความปรากฏชัดอยู่แล้ว
อีกประการหนึ่ง เมื่อว่าด้วยอำนาจความอาศัยแล้ว ธุดงค์ทั้งหมดนั้นมีเพียง 2 ประการ คือ ธุดงค์ที่อาศัยปัจจัย 12 ที่อาศัยความเพียร 1
แม้เมื่อว่าด้วยอำนาจ เป็นสิ่งที่ควรเสพและสิ่งที่ไม่ควรเสพ ธุดงค์ทั้งหมดนั้นก็ย่นลงเพียง 2 ประการเหมือนกัน อธิบายว่า เมื่อโยคีบุคคลใดเสพธุดงค์กัมมัฏฐานย่อมเจริญ อันโยคีบุคคลนั้นพึงเสพธุดงค์เถิด เมื่อโยคีบุคคลใดเสพธุดงค์กัมมัฏฐานย่อมเสื่อม อันโยคีบุคคลนั้นไม่พึงเสพธุดงค์ ก็แต่ว่าเมื่อโยคีบุคคลใดจะเสพธุดงค์ก็ตามไม่เสพก็ตาม กัมมัฏฐานย่อมเจริญอย่างเดียวไม่เสื่อมเลย แม้อันโยคีบุคคลนั้นหวังที่จะอนุเคราะห์ชุมนุมชนภายหลัง พึงเสพธุดงค์เถิด แม้เมื่อโยคีบุคคลใดเสพธุดงค์ก็เท่านั้นไม่เสพก็เท่านั้น กัมมัฏฐานไม่เจริญขึ้น แม้อันโยคีบุคคลนั้นก็พึงเสพธุดงค์เถิด ทั้งนี้ เพื่อให้สำเร็จเป็นวาสนาต่อไป
ธุดงค์ทั้งหมดนั้นซึ่งย่อลงเป็น 2 ด้วยอำนาจเป็นสิ่งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ดังอธิบายมาแล้วนี้ ก็สรุปลงเป็นอย่างเดียวด้วยอำนาจแห่งเจตนา เป็นความจริง ธุดงค์มีอย่างเดียวเท่านั้น คือ เจตนาเป็นเครื่องสมาทาน
แม้ในคัมภีร์อรรถกถาท่านก็พรรณนาไว้ว่า นักปราชญ์ทั้งหลายรับรองว่า เจตนาอันใด ธุดงค์ก็อันนั้น ฉะนี้



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตำนานแม่กาเผือก

ดอกไม้ ดอกไม้ในสวยดอก ดอกไม้ในขันแก้วทั้งสาม ศรัทธาที่มีต่อพระรัตนตรัย

เจดีย์ทราย ตุงสงกรานต์ สัญลักษณ์ความรักความศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย